วิธีการดาวน์โหลด
สำหรับ Smartphone Android
กดค้างที่ชื่อไฟล์เสียง แล้วเลือก Download link
สำหรับ Apple Device
กดค้างที่ชื่อไฟล์เสียง เลือก Share… เลือก Save to Files
สำหรับ Windows/Mac
กดคลิ๊กขวา(Desktop) ที่ชื่อไฟล์เสียง แล้วเลือก 'Save Link As…'
วิธีจัดการกับโลกธรรม |
รายการ "ธรรมะรับอรุณ Live" โดย พระอาจารย์มหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ จากวัดป่าดอนหายโศก อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
ร่วมดำเนินรายการโดย คุณ เตือนใจ สินธุวณิก ออกอากาศทาง Facebook "Puredhamma.com" วันที่ 09 พ.ย.2561 เวลา 20.00 น. ออกอากาศทาง FM92.5 ในวันที่ 11 พ.ย.2561 เวลา 05.00 น.
- ความหมายของคำว่า “โลกธรรมแปด”
- วิธีจัดการกับโลกธรรม เพื่อถึงซึ่งความพ้นทุกข์
บทคัดย่อ
“โลกธรรม” มีความหมาย 2 นัยยะดังนี้
- นัยยะที่ 1 หมายถึง ธรรมที่เกิดขึ้นคู่กับโลก
- นัยยะที่ 2 หมายถึง สิ่งต่างๆที่สามารถรับรู้ได้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้อย่างถูกต้องตามหน้าที่การรับรู้และช่องทางนั้นๆ ซึ่งอินทรีย์ทั้งห้ามีใจเป็นที่แล่นไปสู่ และเมื่อใจรับรู้แล้วก็จะสามารถแปลงสารนั้นเป็นความหมายรู้(สัญญา) 4 คู่ 8 อย่าง หรือที่เรียกว่า “โลกธรรมแปด” ดังนี้
- มีลาภ เสื่อมลาภ
- มียศ เสื่อมยศ
- สรรเสริญ นินทา
- สุข ทุกข์
ทั้งนี้สามารถแบ่งคนในโลกนี้ได้เป็น 2 กลุ่มคือ
- ปุถุชน มีความยินดีและสุขไปตามในลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข แต่ยินร้ายและทุกข์ไปตามกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทาและทุกข์ เพราะไม่พิจารณาเห็นตามที่เป็นจริง ไม่เห็นความไม่เที่ยงในลาภ ยศ สรรเสริญ และสุขเหล่านั้น จึงมีความกำหนัด ยินดี พอใจครอบงำจิต มีอาการขึ้นๆลงๆไปตามกระแสของโลกธรรม ยังไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้ เช่น ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย เป็นต้น
- อริยบุคคล ไม่ยินดีในการได้มาแห่งสุขเวทนาหรือไม่ยินร้ายในความเสื่อมไปของทุกขเวทนาด้วย ซึ่งเกิดจากการเห็นด้วยปัญญาที่ประจักษ์ชัดตามที่เป็นจริงว่า ลาภ ยศ สรรเสริญและสุข มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาตั้งแต่จุดที่เกิดขึ้นแล้ว จึงทำให้ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุขนั้นไม่สามารถครอบงำจิตผู้นั้นได้ เช่นเดียวกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทาและทุกข์เหล่านั้นก็จะไม่ครอบงำจิตผู้นั้นเหมือนกัน เพราะเห็นว่าความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทาและทุกข์ก็มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาเฉกเช่นเดียวกัน
การระลึกได้ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาของโลกธรรมแปดตั้งแต่จุดที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ระลึกถึงหลักธรรมต่างๆ แยกแยะได้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดชั่ว ถือว่ามีทั้งสัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ และสัมมาวายามะด้วย และเราควรมีสติที่ตั้งไว้ด้วยปัญญาอย่างแจ่มแจ้ง
ต้องละตัณหาหรือความทะยานอยากในโลกธรรม เพราะถือว่าเราติดกับดักของมารทันที ด้วยการสร้างเหตุแห่งทุกข์ให้เกิดขึ้น