ก่อนหน้า
S09E09
- ในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ ควรใช้ธรรมะใดในการรักษาใจ
บทคัดย่อ
คำถาม 1: ในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ ควรใช้ธรรมะใดในการรักษาใจ
คำตอบ 1: ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจทั้งที่ดีและย่ำแย่นั้น หลักธรรมที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและการทำมาหากิน สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อหลักๆดังนี้
- ต้องลงมือทำหรือปฏิบัติตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความสุข ความดี และประโยชน์เกื้อกูลอยู่ในปัจจุบัน มีโดยควรแก่ฐานะที่ควรจะเป็นได้ ตามหลักธรรมดังต่อไปนี้
- อุฏฐานสัมปทา หมายถึง ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความขยัน ทำงานด้วยความขยันขันแข็ง ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่อง อันเป็นอุบายในการงานนั้นให้สามารถทำได้สำเร็จทฤษฏี การต่อยอดแสวงหาแหล่งรายได้เพิ่ม เหตุที่คนรวยมีฐานะรวยได้เรื่อยๆ เพราะเขาใช้วิธีเอาเงินที่ลงทุนได้กำไรครั้งแรกๆ ไปต่อยอดธุรกิจ ขยายสายป่านขึ้นเรื่อยๆ
- อารักขสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ (ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม) เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ไม่ให้ถูกลักหรือทำลายไปโดยภัยต่างๆ การได้มาว่ายากแล้ว การรักษาไว้ยากยิ่งกว่า
- กัลยาณมิตตตา หมายถึง การมีมิตรดี เพื่อนดี คบคนดี ไม่คบคบชั่ว อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
- สมชีวิตา หมายถึง การอยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายหรือไม่ให้ฝืดเคืองนัก สามารถจัดการกระแสเงินเข้าให้สมดุลกับกระแสเงินออก ด้วยคิดว่ารายรับจะต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายจะต้องต่ำกว่ารายรับ ใช้จ่ายเงินต่ำกว่าฐานะ คนรวยขึ้นได้เกิดมาจากรู้จักคุณค่าของเงินใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง
- ต้องลงมือทำหรือปฏิบัติตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความสุข ความดี และประโยชน์เกื้อกูลในเวลาต่อๆ ไป มีโดยควรแก่ฐานะที่ควรจะเป็นได้ ตามหลักธรรมดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ที่มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า
- เป็นผู้ที่มีศีล รักษาศีล
- เป็นผู้ที่มีจาคะ คือ มีการสละออก การให้ การบริจาค
- เป็นผู้ที่มีปัญญาที่จะละความเกิดดับ ละความยึดถือ เห็นโทษในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม
- ต้องหลีกเลี่ยงอบายมุข หรือที่ตั้งแห่งความประมาท ซึ่งถือเป็นการอุดรูรั่วในการใช้จ่าย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- การดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ ดังนี้
- ความเสื่อมทรัพย์อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง
- ก่อการทะเลาะวิวาท
- เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
- เป็นเหตุเสียชื่อเสียง
- เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย
- เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา
- การเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ ดังนี้
- ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว
- ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา บุตรภรรยา
- ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
- เป็นที่ระแวงของคนอื่น
- คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้นๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น
- อันเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากแวดล้อม
- การเที่ยวดูมหรสพ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ ดังนี้
- รำที่ไหน ไปที่นั่น
- ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น
- ประโคมที่ไหนไปที่นั่น
- เสภาที่ไหนไปที่นั่น
- เพลงที่ไหนไปที่นั่น
- เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น
- การพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ ดังนี้
- ผู้ชนะย่อมก่อเวร
- ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
- ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน
- ถ้อยคำของคนเล่นการพนันซึ่งไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น
- ถูกมิตร อมาตย์หมิ่นประมาท
- ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายนักเลงเล่นการพนัน ไม่สามารถเลี้ยงภรรยาได้
- การคบคนชั่วเป็นมิตร อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ ดังนี้
- นำให้เป็นนักเลงการพนัน
- นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
- นำให้เป็นนักเลงเหล้า
- นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม
- นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า
- นำให้เป็นคนหัวไม้
- ความเกียจคร้าน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ ดังนี้
- มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน
- มักให้อ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน
- มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน
- มักให้อ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน
- มักให้อ้างว่าหิวนัก แล้วไม่ทำการงาน
- มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน
- การดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ ดังนี้
- ต้องรู้จักการแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ ในเงินทองที่ได้มาด้วยความชอบธรรม โดยที่สามารถปรับสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม อันได้แก่
- บำรุงเลี้ยงให้ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นสุขทั้งในทางเศรษฐกิจและในครัวเรือน โดยครอบคลุมไปยังผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเราในทิศทั้งหก
- ปิดกั้นอันตรายจากไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทอันไม่เป็นที่รักใคร่ รวมถึงการรักษาทรัพย์ เช่น การจ่ายภาษี การทำประกันภัย
- การทำพลีกรรม หมายถึง ภาษีหรือการบูชาเครื่องสังเวย เป็นการให้เปล่าหรือการให้โดยไม่หวังคืน มีอยู่ด้วยกัน 5 ลักษณะ คือ
- ญาติพลี คือ การสงเคราะห์ญาติ การบูชาญาติ
- อิตถิพลี คือ การสงเคราะห์แขกที่มาเยี่ยมเรา มาหาเรา เราสังเวยให้เขา บูชาให้เขา หรือจ่ายเป็นภาษีสังคม
- ปุพพเปตพลี คือ บุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น พ่อแม่ การบวงสรวงญาติ การทำเชงเม้ง
- ราชพลี คือ ภาษี ส่วย อากร
- เทวตาพลี คือ มนุษย์ที่มีศีลมีความดีความงาม เป็นเทวดาอยู่ในร่างมนุษย์ เราก็บูชาเขา สังเวยให้เขา สงเคราะห์เขา ถือว่าเราสงเคราะห์คนดี
- การตั้งไว้ซึ่งทักษิณาทาน หมายถึง ให้เพื่อหวังเอาบุญ ให้กับสมณะพราหมณ์ที่มีความดีงาม เป็นเนื้อนาบุญ เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
- ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม 3 ประการเพื่อที่จะเป็นฆราวาสชั้นเลิศยิ่งขึ้นไป เป็นอริยสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องเปรียบได้กับหัวเนยใส ซึ่งเป็นยอดของรสจากโค กล่าวคือ สามารถบริโภคผลิตภัณฑ์จากวัว โดยที่วัวไม่ตายหรือไม่ถูกเบียดเบียนมากนัก
- อุฏฐานสัมปทา คือ มีโภคทรัพย์อันหาได้มาอย่างเป็นธรรม ไม่คดโกงผู้อื่น ด้วยความเพียร รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ
- สมชีวิตา คือ แบ่งจ่ายทรัพย์ให้ครบในทั้ง 4 หน้าที่
- มีปัญญา คือ ไม่กำหนัดยึดถือ ติดยึดในโภคทรัพย์นั้น
- - - ตอบคำถาม : คุณแอร์ ชินโชติ
พระสูตร / เรื่องที่เกี่ยวข้อง
- ฟัง "เตรียมพร้อมก่อนเกษียณอายุ" ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561
- ฟัง "ภูมิภาคอันสม่ำเสมอน่ารื่นรมย์" ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561
- ฟัง "วินิจฉัยความสุข" ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561